01

1

ปลาสำลี ปลาช่อลำดวน


 ปลาสำลี ปลาช่อลำดวน ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Black-Banded Trevally Serolina Nigrofasciata

ปลาสำลี ปลาช่อลำดวน : เป็น ปลาทะเลอีกชนิดนึง ของไทย ที่ ทุกคน คงคุ้นชื่อ กับ ปลาชนิดนี้ กันเป็นอย่างดี ปลาสำลี ปลาช่อลำดวน นั้น จัดเป็น ดัชนี ชี้วัด ที่ใช้ประมาณ ความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศน์ ทางทะเลได้เป็นอย่างดี ทะเลพื้นที่ใด ที่มี ปลาสำลี ปลาช่อลำดวน อาศัยอยู่นั้น แสดงว่าพื้นที่ บริเวณนั้น มีความสมบูรณ์ แต่ช่างน่าเสียดายเหลือเกิน ในเวลานี้ จากข้อมูลการศึกษาวิจัย ข้อมูล สัตว์น้ำทางทะเล ของประเทศไทย พบว่า จำนวน ของ ปลาสำลี ปลาช่อลำดวน มีการลดลง อย่างน่าตกใจ ปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลต่อ จำนวนที่ลดลง ลงของปลาชนิดนี้ คือ การขยายตัวของธุรกิจ ท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งนำมาซึ่ง การปล่อยของเสียปริมาณมากมาณ ลงสู่ทะเลในแต่ละปี

ข้อมูล ทั่วๆ ไป ของ ปลาสำลี ปลาช่อลำดวน
ลักษณะทั่วไป รูปร่างค่อนข้างเรียวยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากทู่ ปากกว้าง ฟันเล็กแหลมบนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบหลังอันแรกเป็นก้านครีบแข็ง 5 – 7 อัน ครีบหลังอันที่ 2 มีก้านครีบแข็งเพียง 1 อัน ตัวครีบยาว ครีบหูสั้น ครีบหางเว้าลึกปลายแยกเป็นแฉก ครีบทุกครีบมีสีเทา ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเทา เทาปนน้ำเงิน เมื่อยังเล็กจะมีแถบใหญ่ 6 แถบ พาดขวางลำตัว ถิ่นอาศัย บริเวณกลางน้ำและตามพื้นท้องทะเล เช่นอ่าวจังหวัดระยอง ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต ระนอง ตรัง อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยาวประมาณ 30 – 40 ซม. ประโยชน์ เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีราคาค่อนข้างแพง ใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลายประเภท

Stumble This Fav This With Technorati Add To Del.icio.us Digg This Add To Reddit Add To Facebook Add To Yahoo Add To Yahoo

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น